Siriraj Medical Bullentin
Latest Publications


TOTAL DOCUMENTS

29
(FIVE YEARS 29)

H-INDEX

0
(FIVE YEARS 0)

Published By Faculty Of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University

1906-1552

2021 ◽  
Vol 14 (4) ◽  
pp. 81-90
Author(s):  
Napaporn Apiradeewajeeset ◽  
Saowanee Naowapanich ◽  
Jithathai Suksamai ◽  
Chutiphan Tiovohan ◽  
Rukasanun Khwanmueang

การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสังคมและเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวลดลง  การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนส่งผลต่อระบบสาธารณสุขไทย จากการพบผู้ติดเชื้อจำนวนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้จำนวนทรัพยากรสาธารณสุขที่ใช้อย่างจำกัด  ผู้ป่วยรายอื่นต้องถูกเลื่อนหรืองดการรักษา  บุคลากรทางการแพทย์เกิดความเครียดจากการทำงาน เหนื่อยล้า โรงพยาบาลศิริราชเป็นโรงพยาบาลตติยภูมิขนาดใหญ่มีการรองรับการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 โดยเฉพาะในรายที่มีอาการของโรครุนแรงซับซ้อนหรือจำเป็นต้องใช้เครื่องมือเฉพาะทาง  ได้มีการขยายขอบเขตการให้บริการเพิ่มขึ้น 10 หอผู้ป่วย จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างด้านอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ ตลอดจนด้านบุคลากรทางการแพทย์ในการให้บริการ ด้านโครงสร้างมีการปรับเปลี่ยนเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ให้เป็นห้องความดันลบ (negative  room) และมี Anteroom ด้านอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ต้องจัดหาให้เพียงพอกับการใช้งาน อุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล เครื่องช่วยหายใจ และเครื่องติดตามการทำงานของหัวใจ เป็นต้น  ส่วนบุคลากรพยาบาลพบปัญหาความขาดแคลนอย่างยิ่ง จึงต้องเร่งแก้ไขด้วยการจัดหาพยาบาลจากงานการพยาบาลอื่นที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยทางอายุรศาสตร์มาทดแทน  พยาบาลยังขาดทักษะและองค์ความรู้ในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทางการช่วยการหายใจ เช่น การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ  การใช้ High-Flow Nasal Cannula (HFNC) การใช้เครื่องติดตามการทำงานหัวใจ รวมทั้งทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพในผู้ป่วยโควิด-19 ซึ้งมีความแตกต่างจากผู้ป่วยทั่วไป เป็นต้น   ดังนั้นการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรพยาบาล ซึ่งมีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูให้ผู้ป่วยหายป่วยและกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้ปกติสุข รวมทั้งการบริหารอัตรากำลังบุคลากรพยาบาลที่มีอย่างจำกัดให้เหมาะสม ให้เป็นผู้มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด


2021 ◽  
Vol 14 (4) ◽  
pp. 38-49
Author(s):  
Wareeya Vongswanich

การพยากรณ์ข้อมูลอนุกรมเวลาทางการแพทย์ด้วยวิธีบ๊อกซ์-เจนกินส์ (ตัวแบบอารีมา) เป็นวิธีการพยากรณ์เชิงปริมาณที่มีความถูกต้องและความแม่นยำสูง เป็นวิธีที่ง่ายโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ไอบีเอ็ม เอสพีเอสเอสในการ วิเคราะห์ข้อมูลมีขั้นตอนการดำเนินการเพียง 4 ขั้นตอน จะได้ตัวแบบที่เหมาะสมกับข้อมูลอนุกรมนั้นๆ ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการพยากรณ์น้อยที่สุดสำหรับการพยากรณ์ข้อมูลอนุกรมเวลาในอนาคต


2021 ◽  
Vol 14 (4) ◽  
pp. 13-20
Author(s):  
Pirawan Noosen ◽  
Suwannee Rangkrut
Keyword(s):  

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาความรู้ด้านแพทยศาสตรศึกษาของอาจารย์แพทย์ในประเทศไทย 6 ด้าน คือ ด้านการเรียนการการสอน ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการวิจัยการศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตร และด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์แพทย์ในโรงเรียนแพทย์ อาจารย์แพทย์ในศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกและโรงพยาบาลอื่นๆ ในประเทศไทย จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 246 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีการวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้เทคนิควิธี Pearson Correlation เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุคคลกับการความต้องการพัฒนาความรู้ด้านแพทยศาสตรศึกษา ผลการศึกษา: พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 36 – 45 ปี มีประสบการณ์ด้านการสอนน้อยกว่า 5 ปี และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นอาจารย์แพทย์สังกัดโรงเรียนแพทย์ ซึ่งในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา เคยเข้าร่วมอบรมพัฒนาความรู้ด้านแพทยศาสตรศึกษาเพียง 1 – 2 ครั้ง โดยอาจารย์แพทย์มีความต้องการพัฒนาความรู้ด้านแพทยศาสตรศึกษาอยู่ในระดับมาก และมีความต้องการพัฒนาความรู้ด้านแพทยศาสตรศึกษา ด้านเทคโนโลยีทางการศึกษามากที่สุด สรุป: ประสบการณ์การสอน วิธีการพัฒนาความรู้ด้านแพทยศาสตรศึกษา รูปแบบการเรียนที่ต้องการความรู้ด้านแพทยศาสตรศึกษา และระยะเวลา ที่แตกต่างกันมีความต้องการในการพัฒนาตนเองด้านแพทยศาสตรศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนเพศ อายุ และหน่วยงาน ที่แตกต่างกันมีความต้องการในการพัฒนาตนเองด้านแพทยศาสตรศึกษา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


2021 ◽  
Vol 14 (4) ◽  
pp. 5-12
Author(s):  
Sanya Sukpanichnant

แพทย์สตรีไทยยุคแรกที่สำเร็จปริญญาแพทยศาสตร์ในประเทศไทย เริ่มเรียนเตรียมแพทย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนิสิตหญิงรุ่นแรกในปีการศึกษา 2470 เป็นเวลา 2 ปี แล้วข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยามาเรียนแพทย์ที่โรงพยาบาลศิริราช เป็นนักเรียนแพทย์หญิงรุ่นแรกอีก 4 ปีจนสำเร็จในปีการศึกษา 2475 มีเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจซึ่งควรนำมาเผยแพร่เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ศตวรรษของความเสมอภาคทางเพศในการศึกษาของไทยในปี 2564 นี้


2021 ◽  
Vol 14 (4) ◽  
pp. 21-30
Author(s):  
Suksalin ฺBooranasubkajorn ◽  
Nunthawan Prathumsuwan ◽  
Pornnatcha Henggrathock ◽  
Kamontip Harnphadungkit ◽  
Pravit Akarasereenont ◽  
...  
Keyword(s):  

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสมุนไพรและตำรับยาที่มีสรรพคุณรักษาอัมพฤกษ์อัมพาตในตำราการแพทย์แผนไทยเดิม (แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์) เล่มที่ 1, วิเคราะห์รสยาของยาสมุนไพรเดี่ยวและสมุนไพรในตำรับยา และรวบรวมหลักฐานเชิงประจักษ์ของสมุนไพรที่มีสรรพคุณรักษาอัมพฤกษ์อัมพาต วิธีการศึกษา: เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ทบทวนและบันทึกรายการสมุนไพรและตำรับยาที่มีการรักษาอัมพฤกษ์อัมพาตในตำราการแพทย์ไทยเดิม ตรวจสอบความถูกต้องของชื่อเครื่องยาสมุนไพรและรสยาโดยผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นทำการสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ของเครื่องยาในฐานข้อมูล PubMed  และ Google scholar ผลการศึกษา: จาก 13 คัมภีร์ พบว่า มี 8 คัมภีร์ที่บันทึกการรักษาอัมพฤกษ์อัมพาต โดยคัมภีร์สรรพคุณยาและคัมภีร์ธาตุวิภังค์ มีจำนวนตำรับยามากที่สุด คือ 5 ตำรับ และรองลงมาคือ คัมภีร์โรคนิทานมี 4 ตำรับ เป็นการใช้สมุนไพรเดี่ยว 8 ชนิด และเป็นตำรับยา 22 ตำรับ โดยมีการใช้สมุนไพรทั้งสิ้น 142 ชนิด สมุนไพรที่ใช้ในตำรับยา 4 ตำรับขึ้นไป มี 22 ชนิด โดย พริกไทยล่อน ใช้มากที่สุด รสยาที่พบการใช้เรียงจากมากไปน้อยคือ รสเผ็ดร้อน ร้อยละ 26.32 รสเค็ม ร้อยละ 14.47 และรสขม ร้อยละ 13.16 และมีสมุนไพร 19 ชนิด ที่มีหลักฐานงานวิจัยเกี่ยวกับการรักษาโรคอัมพฤกษ์อัมพาต เช่น ช่วยต้านเกล็ดเลือด ป้องกันเซลล์ประสาทถูกทำลาย สรุป: อัมพฤกษ์อัมพาตมีการกล่าวถึงในหลายคัมภีร์ โดยการรักษานิยมใช้ยาตำรับมากกว่าสมุนไพรเดี่ยว แต่จำนวนหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับสมุนไพรที่ใช้ยังมีน้อย แสดงว่าการพัฒนายาไทยที่ใช้รักษาอัมพฤกษ์อัมพาตยังต้องการการวิจัยอีกมากเพื่อให้เกิดการใช้อย่างสมเหตุสมผล


2021 ◽  
Vol 14 (4) ◽  
pp. 74-80
Author(s):  
Panintorn Konggateyai ◽  
Vipavee Thanapatiwat ◽  
Piyapat Dajpratham ◽  
Wasana Anuja

Hip fractures are more common in the elderly.  After surgery,  the elderly have limitations in doing various activities, especially Activities of Daily Living (ADLs). Adaptive devices are used to assist in completing ADLs after surgery such as a long sponge stick used to prevent bending over while showering, dressing stick, shoehorn, etc. Besides, adaptive devices can increase self-confidence, safety and reduce anxiety among patients and caregivers. Nowadays, adaptive devices are easy to buy at an inexpensive price. Also, there are the innovations of adaptive devices that facilitate the patient to do the activities of daily living such as home electrical control devices, and the proactive innovation that reduces the incidence of hip fracture.


2021 ◽  
Vol 14 (4) ◽  
pp. 50-55
Author(s):  
Saranya Lertkovit ◽  
Amornrat Aekta ◽  
Chotima Apiwatchatchawan ◽  
Phongthara Vichitvejpaisal

ก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีความสำคัญต่อภูมิอากาศของโลก ที่สร้างสรรค์ให้สรรพสิ่งยังคงดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่ก๊าซที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ จากการทำลายป่าต้นน้ำ การใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดอย่างฟุ่มเฟือย ตลอดจนการเร่งรัดการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ก่อให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อมและวิกฤตภาวะโลกร้อนมานานนับศตวรรษ มนุษย์จึงจำเป็นต้องตระหนัก ร่วมแรงร่วมใจกันใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่มีอยู่ ในการพัฒนากระบวนการลดการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ โดยอาศัยพื้นฐานการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์เป็นบรรทัดฐาน ในแต่ละวัน บุคลากรวิสัญญีเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ นอกเหนือจากการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดแล้ว ยังมีหน้าที่ในการช่วยลดปริมาณคาร์บอนจากการปฏิบัติงาน ด้วยการเลือกใช้เทคนิคการระงับความรู้สึกแบบเฉพาะส่วนและก๊าซที่ใช้ขับเคลื่อนยาดมยาสลบในอัตราต่ำเป็นอันดับต้นๆ หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ เวชภัณฑ์และก๊าซทางการแพทย์ ที่มีปริมาณคาร์บอนสูง การส่งผลต่อภาวะโลกร้อน ระยะเวลาคงค้างอยู่ในบรรยากาศ และชีวมลพิษสะสม เพื่อประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อสภาพแวดล้อมของโลกใบนี้


2021 ◽  
Vol 14 (4) ◽  
pp. 56-61
Author(s):  
Kavi Ratanabanangkoon

Snakebite envenoming has killed about 138000 people and maimed 400,000 victims annually. WHO has designated this medical problem as one of the most neglected tropical diseases for which effective, affordable antivenoms (AVs) are urgently needed. Production of potent AV against neurotoxic venoms was difficult and was thought to be due to the low immunogenicity of the postsynaptic neurotoxins (PSNT) which cause death in the victims. However, it was showed that the use of ineffective adjuvant in the immunization of horse was the root cause. The highly effective Freund adjuvant (FA) causes severe local reactions and could not be used. A novel immunization protocol termed ‘low dose low volume multi-site’ was tested and shown to obliterate the local side effect and allow for the safe use of FA in horse. The immunization protocol led to the production of 7 highly potent monovalent AVs, and 2 potent polyvalent AVs, one against 4 neurotoxic venoms and another against 3 hematotoxic venoms. These AVs allow the treatment of snakebite victims without the need to identify the culprit snakes. Furthermore, we have tested a novel immunization strategy using ‘Diverse toxin repertoire’ of 12 Asian elapid toxin fractions. The resulting antiserum effectively neutralized at least 36 elapid venoms of 28 species encompassing 10 genera and from 20 countries on 4 continents, and most likely all the elapid neurotoxic snake venoms. These results indicate that effective universal antivenom against all elapid neurotoxic venoms of the world can be produced and save numerous lives.


2021 ◽  
Vol 14 (4) ◽  
pp. 31-37
Author(s):  
Panintorn Konggateyai ◽  
Saowaluk Jantharakasamjit ◽  
Yaowalak Maneechay ◽  
Mingkwan Nontarit
Keyword(s):  

การออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีความหลากหลาย  ที่สำคัญที่สุดคือจะต้องมีการทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอทั้งที่โรงพยาบาลและที่บ้าน เพราะภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงนี้จะทำให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลงและส่งผลต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะการทำกิจวัตรประจำวัน ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลงตามมา  Rehab pipe  คือนวัตกรรมที่ถูกคิดค้นขึ้นโดยนักกิจกรรมบำบัดและนักกายภาพบำบัด ภายใต้แนวคิด “เป็นอุปกรณ์ที่สามารถประดิษฐ์ได้เอง โดยใช้วัสดุในท้องถิ่นหรือหาได้ง่ายในท้องตลาดและสามารถปรับระดับแรงต้านได้ตามความเหมาะสม” โดยนวัตกรรมชิ้นนี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการออกกำลังเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในการงอ-เหยียดข้อศอกและข้อเข่า ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อของแขนและขาที่สำคัญในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ซึ่งการออกกำลังด้วยตัวเองที่บ้านนั้นจะช่วยลดการมารับบริการที่โรงพยาบาล ลดการหกล้มของผู้ป่วยที่อาจเกิดขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุและยังสามารถส่งเสริมการทำกิจกรรมด้านอื่น ๆ ได้เพิ่มมากขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามมา


2021 ◽  
Vol 14 (4) ◽  
pp. 62-73
Author(s):  
Chamard Wongsa ◽  
Mongkhon Sompornrattanaphan ◽  
Chenchit Chayachinda ◽  
Panadda Swasdimongkol ◽  
Torpong Thongngarm

เพนิซิลลินเป็นยาปฏิชีวนะหลักสำหรับการรักษาโรคซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันการถ่ายทอดโรคซิฟิลิสหรือการติดเชื้อ Treponema pallidum subsp. Pallidum ไปยังทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมีประวัติแพ้ยาเพนิซิลลิน จึงถือเป็นความท้าทายอย่างมากต่อสูติแพทย์ผู้ดูแล ในกรณีนี้หนึ่งในการรักษาที่แนะนำโดย Center for Disease Control and Prevention ได้แก่ การทำ penicillin desensitization กระบวนการนี้จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ สูติแพทย์ อายุรแพทย์โรคภูมิแพ้ วิสัญญีแพทย์ เภสัชกร และทีมพยาบาลที่มีประสบการณ์ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วย กระบวนการ penicillin desensitization ต้องทำในหอผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตามสัญญาณชีพและกู้ชีพอย่างครบครัน บทความนี้ได้นำเสนอแนวทางปฏิบัติในโรงพยาบาลศิริราช  


Sign in / Sign up

Export Citation Format

Share Document